Credit : Keio University
นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า มีหลุมดำมวลยวดยิ่งอาศัยอยู่ตรงใจกลางดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา หลุมดำมวลยวดยิ่งนี้มีชื่อว่า “ซาจิทาเรียส เอ สตาร์” (Sagittarius A*) หรือเรียกสั้นๆว่า Sgr A* ซึ่งบางครั้งก็เปล่งแสงในช่วงความยาวคลื่นมิลลิเมตร
ล่าสุดทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคโอ ในญี่ปุ่น เผยว่า จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุช่วงคลื่นเป็นมิลลิเมตรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก Atacama Large Millimeter / submillimeter Array (ALMA) เฝ้าสังเกตซาจิทาเรียส เอ สตาร์ ก็พบการกะพริบเป็นระยะในคลื่นมิลลิเมตรจากหลุมดำแห่งนี้ ตีความได้ว่าการกะพริบนั้นเกิดจากการหมุนของคลื่นวิทยุรอบหลุมดำมวลยวดยิ่ง โดยมี รัศมีวงโคจรน้อยกว่าของดาวพุธ ถือเป็นเบาะแสที่น่าสนใจในการตรวจสอบปริภูมิเวลา หรือกาล-อวกาศ (space-time) ด้วยแรงโน้มถ่วงที่รุนแรง
นักดาราศาสตร์เผยว่า จุดร้อนที่มีรังสีหรืออุณหภูมิสูงกว่าที่อื่นๆจะเกิดขึ้นเป็นระยะในแผ่นจานรอบหลุมดำ และเปล่งคลื่นมิลลิเมตรออกมา ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และการปล่อยก๊าซจะขยายออกไปอย่างมากเมื่อแหล่งกำเนิดกำลังเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วที่เทียบได้กับแสง นักดาราศาสตร์เชื่อว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นของการปล่อยคลื่นมิลลิเมตรจาก Sgr A* นั่นเอง.