Credit : Xi et al., 2020
เชื่อกันว่ารังสีแกมมาในดาราจักรหรือกาแล็กซี เป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ของรังสีคอสมิกกับก๊าซระหว่างดวงดาว กาแล็กซีที่มีดวงดาวก่อตัวจะเป็นแหล่งเก็บกักรังสีคอสมิกขนาดใหญ่ ซึ่งอาจสำคัญต่อการศึกษาการปล่อยรังสีแกมมานอกกาแล็กซีทางช้างเผือก
เมื่อเร็วๆนี้นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนานจิงในจีน ได้ตรวจพบการปล่อยรังสีแกมมาจาก 2 กาแล็กซีที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์ นั่นคือกาแล็กซี M 33 หรือเมสสิเยร์ 33 (Messier 33) และ Arp 299 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมแฟร์มี (Fermi) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา ซึ่งกาแล็กซีที่มีการก่อตัวดวงดาวถูกตรวจพบรังสีแกมมาที่ยังค่อนข้างสั้น
M 33 เป็นกาแล็กซีสามเหลี่ยม ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบรรดากาแล็กซีกลุ่มท้องถิ่นห่างโลกราวๆ 2,730,000 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวสามเหลี่ยม ส่วนกาแล็กซี Arp 299 อยู่ห่างออกไปประมาณ 130 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้สร้างความเป็นไปได้ที่จะช่วยพัฒนาความรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของการปลดปล่อยพลังงานสูงมากในกาแล็กซี.