สำนวน หรือโวหารที่ฝรั่งมักจะใช้ยกขึ้นมาพูดให้ดูมีชั้นเชิง เป็นคำที่มีความหมายไม่ตรงตามรูปแบบภาษา และเป็นถ้อยคำที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือ Idiom หลายครั้งที่ฝรั่งใช้สำนวนโวหาร ผู้อ่านท่านต้อง วิเคราะห์ว่าผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่ออะไรกันแน่
อย่างสำนวน a blessing in disguise ถ้าแยกเป็นคำ blessing ก็คือ “การสวดให้พร” หรือ “สิ่งที่ทำให้ดีใจ” ส่วน disguise คือ “การปลอมแปลง” หรือ “การหลอกลวงปิดบังอำพราง” แต่เมื่อใช้เป็นสำนวนโวหารแล้ว วลีนี้จะสื่อถึง “สิ่งที่เป็นปัญหาในตอนเริ่มต้น กลับลงเอยด้วยดี” หรือ “ต้นร้ายปลายดี” นั่นเอง
คุยกันมานาน 3 วัน พอถึงเวลานัดเดต นาตาลีถูกโรเบิร์ตเทอย่างไม่สนใจไยดี ร้องห่มร้องไห้ฟูมฟายเล่าให้เพื่อนฟัง นาตาชาเพื่อนของนาตาลี รู้เข้าก็แฉความเจ้าชู้ของโรเบิร์ตไป 3 ชั่วโมง จนนาตาลีหยุดร้อง แล้วบอกว่า Well, maybe this is a blessing in disguise. ดีแล้วล่ะ นี่อาจจะเป็นต้นร้ายปลายดีก็ได้นะ (โชคดีที่โรเบิร์ตแสดงนิสัยไม่ดีให้เห็น
ก่อนจะคบหากัน)
ก่อนแยกย้าย นาตาชาจับมือนาตาลีแล้วพูดว่า You shouldn’t cry over spilt milk, right? เราอาจจะงง เพราะเรื่องที่พูดไม่เกี่ยวกับน้ำนมเลย วลี cry over spilt milk ฝรั่งใช้สื่อถึง “ไม่มีประโยชน์ที่จะเสียใจกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว”
ประโยคข้างบนนาตาชาต้องการบอกว่า ช่างมันเถอะ มันผ่านไปแล้วจริงไหม.
...
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
pasalok1998@gmail.com