Credit : Jacob Blokland, Flinders University
ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลเพนกวินยักษ์ชื่อ Kupoupou stilwelli ที่พบบนเกาะชาแธมอันห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ใกล้กับเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ ระหว่างปี พ.ศ.2549–2554 ได้ถูกอธิบายว่าดูเหมือนจะเป็นเพนกวินที่เก่าแก่ที่สุด และมีลักษณะคล้ายคลึงกับเพนกวินยุคใหม่ที่อาศัยอยู่ในแถบแอนตาร์กติก ซึ่ง Kupoupou stilwelli มีชีวิตอยู่ในช่วง 62.5–60 ล้านปีที่แล้ว
นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยแคนเทอร์บิวรี ในนิวซีแลนด์ ได้สร้างภาพของเพนกวินโบราณดังกล่าวเพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างเพนกวินยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกับญาติยุคใหม่ของพวกมัน พบว่า Kupoupou stilwelli มีสัดส่วนทั้งในแง่ของขนาด แขนขาหลัง กระดูกเท้า หรือรูปร่างเท้าเหมือนเพนกวินในปัจจุบันมาก นั่นหมายความว่ามันจะเดินเตาะแตะบนบก ซึ่งการค้นพบนี้อาจเชื่อมโยงต้นกำเนิดของเพนกวินกับทางตะวันออกของนิวซีแลนด์ ตั้งแต่หมู่เกาะชาแธมไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ ที่พบซากดึกดำบรรพ์เพนกวินโบราณอื่นๆอยู่ห่างออกไป 800 กิโลเมตร
ข้อมูลนี้ยังสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าเพนกวินวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วอาจเป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษของเพนกวินแยกตัวออกจากเชื้อสายญาติที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น นกอัลบาทรอสและนกเพทเร็ล ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส นักบรรพชีวินวิทยาเผยว่าเป็นไปไม่ได้ที่เพนกวินสูญเสียความสามารถในการบินและสามารถว่ายน้ำได้หลังจากเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีก่อน แสดงให้เห็นว่าเพนกวินมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งหากพบซากดึกดำบรรพ์จากยุคครีเตเชียส ก็จะช่วยไขปริศนานี้อย่างแน่นอน.