ในจักรวาลมีวัตถุอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “เนบิวลาดาวเคราะห์” (Planetary Nebula) ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ของเรา ลักษณะของเนบิวลาดาวเคราะห์คือจะปลดปล่อยแสงจากการเผาไหม้ของดวงดาวที่ใกล้ตาย ดังนั้น เนบิวลาดาวเคราะห์จึงเป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นว่าอนาคตของระบบสุริยะของเรานั้นจะเป็นเช่นไร

เมื่อเร็วๆนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา และ องค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ สามารถจับภาพเนบิวลาดาวเคราะห์ที่ชื่อ NGC 5307 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกออกไป 10,000 ปีแสง โดยตรวจพบในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า (Centaurus) ที่เห็นได้ในซีกโลกใต้ ดวงดาวนี้เหมือนกับดวงอาทิตย์ของเรา ที่จะเปลี่ยนเป็นดาวยักษ์แดงเมื่อชีวิตดาวสิ้นสุดลง แต่ดาวยังถูกประคองด้วยการหลอมรวมของปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มาจากการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุเบาให้กลายเป็นนิวเคลียสของธาตุหนัก และปล่อยพลังงานออกมา

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของวิวัฒนาการของดาวดวงนี้ เพราะชั้นนอกยังคงเคลื่อนไหวและเย็นลง แต่ในเวลาเพียงไม่กี่พันปีก็จะกระจายไปและสิ่งที่เหลืออยู่ก็คือดาวแคระขาวที่ส่องแสงสลัว.

Credit : ESA/Hubble & NASA, R. Wade et al.

...