คำถาม 1 : การได้รับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสส่งผลต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของมนุษย์หรือไม่? งานวิจัยหลายชิ้นของการศึกษาในมนุษย์ในรูปแบบการติดตามผลระยะยาวยืนยันว่า แม้ว่าจะเป็นการได้รับผ่านทางแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ คลอร์ไพริฟอสสามารถส่งผลระยะยาว (long-term effect) ในเด็กในการทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสมอง ส่งผลกระทบทำให้การเรียนรู้ ความจำ ความคิด ทักษะพื้นฐาน และอื่นๆ เป็นไปช้ากว่าพัฒนาการทั่วไปและอาจมีผลไปตลอดชีวิต เมื่อเทียบเคียงกับผลการศึกษาในสัตว์ทดลองที่พบว่าความเป็นพิษต่อสมองจากคลอร์ไพริฟอสเป็นผลความเป็นพิษแบบถาวร ส่งผลต่อพัฒนาการระยะยาว ((Whyatt, R.M., Camann, D., Perera, F.P., Rauh, V.A., Tang, D., Kinney, P.L. Garfinkel, R., Andrews, H., Hoepner, L., Barr, D.B. 2005. Biomarkers in assessing residential insecticide exposures during pregnancy and effects on fetal growth. Toxicol. Appl. Pharmacol. 206:246-54, Rauh, V.A., Perera, F.P., Horton, M.K., Whyatt, R.M., Bensal, R., Hao, X., Liu, J., Barr, D.B., Slotkin, T.A., Peterson, B.S. 2012. Brain anomalies in children exposed prenatally to a common organophosphate pesticide. ProcNatlAcadSci USA. 109(20):7871-76))
มีรายงานวิจัยผลการศึกษาในมนุษย์อย่างต่อเนื่องถึงความเชื่อมโยงระหว่างการรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสกับผลทางระบบประสาทรูปแบบต่างๆ อาทิ ผลต่อพฤติกรรมซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย (Depression and suicidal behavior) เกษตรกรที่ใช้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น (Lee WJ, Alavanja MCR, Hoppin JA, Rusiecki JA, Kamel F, Blair A, Sandler DP. Mortality among Pesticide Applicators Exposed to Chlorpyrifos in the Agricultural Health Study. Environ Health Perspect. 2007 Apr; 115 (4): 528-534. Published online 2007 Jan 11. doi: 10.1289/ehp.9662 PMCID: PMC1852666, Freire C, KoifmanS. Pesticides, depression and suicide: a systematic review of the epidemiological evidence. Int J Hyg Environ Health. 2013 Jul;216(4):445-60. doi: 10.1016/j.ijheh.2012.12.003. Epub2013 Feb 17.)
...
ผลต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมประสาท (Neurobehavioral Performance) เด็กและวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-18 ปีที่มีการรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสมีผลการทดสอบที่แย่กว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการรับสัมผัส ตัวชี้วัดที่ประกอบด้วยการทดสอบการให้เหตุผลและความจำระยะสั้น การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำแสดงผลที่ต่ำกว่าอย่างชัดเจนในกลุ่มที่รับสัมผัสคลอร์ไพริ-ฟอสที่มีระดับเมตาบอไลต์ที่สูงในปัสสาวะ (Rohlmand D.S., Ismail, A.A., Abdel-Rasoul, G., Lasarev, M., Henday, O., Olson, J.R., Characterizing exposures and neurobehavioral performance in Egyptian adolescent pesticide applicators. Metab Brain Dis. 2014; 29(3):845-55.)
ผลต่อพัฒนาการด้านระบบประสาท (Neurodevelopmental effects) การรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสในแม่ที่ตั้งครรภ์และส่งผลต่อการพัฒนาของระบบประสาทของตัวอ่อนในครรภ์ เป็นผลให้เกิดผลกระทบระยะยาวภายหลังการคลอดโดยเฉพาะการเกิดความเชื่องช้าของพัฒนาการด้านทักษะพื้นฐาน (Rauh, V.A., Garfinkel, R., Perera, F.P., Andrews, H.F., Hoepner, L., Barr, D.B., Whitehead, R., Tang, D., Whyatt, R.W. Impact of prenatalchlorpyrifos exposure on neurodevelopment in the first 3 years of life among inner-city children. Pediatrics 2006;118(6): e1845-59.) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ (Engel, S.M., Wetmur, J., Chen, J., Zhu, C., Barr, D.B., Canfield, R.L., Wolff, M.S. Prenatal exposure to organophosphates, paraoxonase 1, and cognitive development in childhood. Environ Health Perspect. 2011;119:1182-1188.)
ผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา (intellectual) คลอร์ไพริฟอสมีผลต่อพัฒนาการทางสมองด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ในเด็กที่มีการรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสระหว่างที่อยู่ในครรภ์แม่ (Bouchard, M.F., Chevrier, J., Harley, K.G., Kogut, K., Vedar, M., Calderon, N., Trujillo, C., Johnson, C., Bradman, A., Barr, D.B., Eskenazi, B. Prenatal exposure to organophosphate pesticides and IQ in 7-Year-old children. Environ Health Perspect. 2011;119:1189-95.) การรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสในแม่ที่เป็นเกษตรกรมีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้และสติปัญญาในระยะยาวของลูก (Rauh, V., Arunajadai, S., Horton, M., Perera, F., Hoepner, L., Barr, D.B., Whyatt, R. Seven-year neurodevelopment scores and prenatal exposure to chlorpyrifos, a common agricultural pesticide. Environ. Health Perspect. 2011;119(8):1196-201.)
ผลต่อลักษณะของสมอง (brain morphology) เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีการรับสัมผัสคลอร์ไพริฟอสในขนาดสูงมีการโตขึ้นของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมด้านภาษา ความสนใจ (attention) ด้านการรับรู้ทางสังคม (social recognition) ด้านอารมณ์ ตลอดจนด้านการวางแผน ความมีเหตุมีผล โดยที่เด็กที่มีขนาดสมองใหญ่ มีระดับสติปัญญาต่ำกว่า (Rauh, V.A., Perera, F.P., Horton, M.K., Whyatt, R.M., Bensal, R., Hao, X., Liu, J., Barr, D.B., Slotkin, T.A., Peterson, B.S. 2012. Brain anomalies in children exposed prenatally to a common organophosphate pesticide. ProcNatlAcadSci USA.109(20):7871-76.)
คำถาม 2 : คลอร์ไพริฟอสเป็นสารที่รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disrupting chemical :EDC) หรือไม่? มีงานวิจัยพบว่าส่งผลต่อการควบคุมเมตาบอลิซึมของไขมันและกลูโคสในหนู ส่งผลต่อระบบไทรอยด์ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น Hypothyroidism และมีรายงานการออกฤทธิ์อื่น อาทิ neuroendocrine (Medjakovic, S., Zoechiling, Am., Gerster, P., Ivanova, M.M., Teng, Y., Klinge, C.M., Schildberger, B., Gartner, M., Jungbauer, A. 2014. Effect of nonpersistent pesticides on estrogen receptor, androgen receptor, and aryl hydrocarbon receptor. Environ. Toxicol. 29(10):1201-16; Ventura, C., Nieto, M.R., Bourguignon, N., Lux-Lantos, V., Rodriguez, H., Cao, G., Rnadi, A., Cocca, C., Nunez, M. 2016. Pesticide chlorpyrifos acts as an endocrine disruptor in adult rats causing changes in mammary gland and hormonal balance. J. Steroid Biochem. Mol. Biol. 156:1-9) และ estrogenic and androgenic effects (Vismanath, G., Chatterjee, S., Dabral, S., Nanguneri, S.R., Divya, R., Roy, P. 2010. Anti-androgenic endocrine drisupting activities of chlorpyrifos and piperophos. J. Steroid Biochem. Mol. Biol. 120(1):22-9)
...
คำถาม 3 : การได้รับสัมผัสคลอร์ไพริฟอส เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่? สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พบว่า คลอร์ไพริฟอสสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ H508 (Suriyo T, Tachachartvanich P, Visitnonthachai D, Watcharasit P, Satayavivad J. 2015. Chlorpyrifos promotes colorectal adenocarcinoma H508 cell growth through the activation of EGFR/ERK1/2 signaling pathway but not cholinergic pathway. Toxicology. 338:117-29) และมีงานวิจัยพบว่า เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งทวารหนักเป็น 2.7 เท่า (95% confidence internal 1.2-6.4; Lee WJ, Sandler DP, Blair A, Samanic C, Cross AJ, Alavanja MC. 2007. Pesticide use and colorectal cancer risk in the Agricultural Health Study. Int J Cancer. 121 (2) : 339-46.)
คำถาม 4 : การใช้คลอร์ไพริฟอสสามารถตกค้างในมนุษย์ได้หรือไม่? คลอร์ไพริฟอสที่เกิดจากการฉีดพ่นในงานเกษตรกรรม ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า เกษตรกรได้รับคลอร์ไพริฟอสจากการหายใจสูงกว่าค่าระดับที่ปลอดภัย (Hazard quotient>1) หญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมเมื่อคลอดบุตรตรวจพบคลอร์ไพริฟอสในขี้เทาทารกแรกเกิดเป็น 32.4% จากมารดา 67 คน มารดาที่มีการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดา ตรวจพบคลอร์ไพริฟอสในน้ำนมมารดา 41.2% จากมารดา 51 คน และทารกที่ได้รับคลอร์ไพริฟอสเกินค่า ADI มีอยู่ 4.8% (Kongtip P., Tingsa T., Yoosook W. &Chantanakul S. 2009. Health Risk Assessment and Biomarkers of Chlorpyrifos in Rice Farmers)
หมอดื้อ