มาถึงตอนจบของละคร ‘บุพเพสันนิวาส’ ต้องลาจอกันไปแล้ว มีอีกหนึ่งตัวละครที่เพิ่งปรากฏตัว ศรีปราชญ์ รับบทโดย ดรีม-ณฐณพ ชื่นหิรัญ วันนี้ ไทยรัฐออนไลน์ ขอพาไปเปิดประวัติ ทำความรู้จัก กวีเอก ศรีปราชญ์เป็นใคร มีตัวตนจริงหรือไม่ ทำไมถึงถูกเนรเทศต้องจากบ้านไปไกล เรามีคำตอบ...

ศรีปราชญ์ รับบทโดย ดรีม-ณฐณพ ชื่นหิรัญ
ศรีปราชญ์ รับบทโดย ดรีม-ณฐณพ ชื่นหิรัญ

1. ‘ศรีปราชญ์’ เป็นกวีเอกคนหนึ่ง มีความสามารถด้านร้อยกรอง ในประวัติศาสตร์ชาติไทย รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เข้ารับราชการตั้งแต่อายุ 9 ขวบ 

2. ‘ศรีปราชญ์’ มีชื่อว่า ‘ศรี’ แต่ด้วยความสามารถด้านโคลงกลอน ไม่มีผู้ใดแต่งได้ดีเท่าเจ้าศรี คนทั่วไปจึงเรียก ‘เจ้าศรี’ ว่า ‘ศรีปราชญ์’ สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

...

3. ศรีปราชญ์ ได้รับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอยู่หลายปี ติดตามไปด้วยทุกหนทุกแห่ง จนกระทั่งเป็นหนุ่มฉกรรจ์ มีนิสัยเจ้าชู้ตามอารมณ์ของกวี บวกกับความคึกคะนอง และถือตัวว่าเป็นคนโปรดของ “พระนารายณ์” จึงทำให้เกิดเหตุถูกเนรเทศ

4. สาเหตุของการเนรเทศ ในคืนวันลอยกระทง ศรีปราชญ์ ได้ดื่มสุราแล้วเมา จากนั้นได้แต่งโคลงถึงท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อพระสนมเอกได้ฟังก็ไม่พอใจอย่างมาก จึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวง แต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ และถูกสนมเอกที่เกลียดชังศรีปราชญ์ไม่หาย ทูลฟ้อง ทำให้ต้องโทษถึงประหาร

ศรีปราญช์และพระโหราธิบดี
ศรีปราญช์และพระโหราธิบดี
ศรีปราชญ์และแม่จำปา
ศรีปราชญ์และแม่จำปา

5. พระโหราธิบดี รู้นิสัยใจคอลูกชายดี ประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คำนวณเอาไว้ ได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ ว่า หากเจ้าศรีทำผิด มีโทษถึงประหารชีวิต ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศ ศรีปราชญ์ ไปเมืองนครศรีธรรมราช 

6. เมื่อไปอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ศรีปราชญ์ก็ยังสามารถแสดงทักษะด้านกวีได้ดี จนทำให้ศรีปราญช์เป็นคนโปรดของท่านเจ้าเมืองเช่นกัน ทำให้มีคนหมั่นไส้ จึงได้ใส่ร้าย ศรีปราชญ์ ว่าลักลอบเป็นชู้กับภริยาของพระยานคร พระยานครหลงเชื่อ จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต

7. ศรีปราชญ์ ประท้วงโทษประหารชีวิต แต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ‘ก่อนตาย’ ศรีปราชญ์เขียนโคลงแช่งเจ้าเมืองให้ตายด้วยดาบเดียวกัน และภายหลังก็เป็นไปตามนั้น สมเด็จพระนารายณ์ รู้ว่า เจ้าพระยานคร สั่งประหาร ศรีปราญช์ ก็ทรงพิโรธเป็นอย่างมาก ครั้นพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์ จึงมีพระบรมราชโองการให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานครใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้น นำมาประหารชีวิตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ ศรีปราชญ์ เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ดาบนี้คืนสนอง”

...

8. โดยศรีปราชญ์เขียนโคลงบทสุดท้ายก่อนตายไว้กับพื้นธรณีว่า...

ธรณีนี่นี้               เป็นพยาน


เราก็ศิษย์มีอาจารย์   หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร    เราชอบ


เราบ่ผิดท่านมล้าง     ดาบนี้คืนสนอง ฯ

9. ถึงแม้จะมีการพูดถึงชื่อ ศรีปราชญ์ แต่นักประวัติศาสตร์เห็นว่า เขาไม่มีตัวตนจริง เพราะปราศจากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือ

10. หลายเสียงบอกว่า ศรีปราชญ์ น่าจะเป็นเพียง ‘ตัวละครเอก’ ในเรื่องเล่าขานของชาวบ้าน ทำนองเดียวกับศรีธนญชัย โดยทั้ง ศรีปราชญ์ และ ศรีธนญชัย น่าจะรับมาจากนิทานอินโดนีเซีย หรือ เปอร์เซีย โดย 'ศรีปราชญ์' เป็นตัวแทนความซื่อตรง 'ศรีธนญชัย' เป็นตัวแทนความคดโกง