ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disability) หรือโรค LD เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณ และเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ส่งผลให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆ ปกติดี

แม้ในปัจจุบันความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเด็ก LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในประเทศไทยจะขยายวงกว้างมากขึ้น แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ ยังมีผู้ปกครองและคุณครูจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิด คิดว่าเด็ก LD ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณ หรืออาจมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้าและไม่เสร็จ เป็นเด็กดื้อ เกเร หรือขี้เกียจ ทำให้เด็กไม่ได้รับการส่งเสริมทักษะเรียนรู้ที่ดีพอ

รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH หรือ Bangkok Mental Health Hospital เผยว่า ปัญหาสุขภาพจิตที่น่าห่วงสำหรับเด็กไทยในวันนี้ คือ โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ โรค LD (Learning Disability) และพบว่าส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมกันได้ถึงร้อยละ 30-40% เช่น โรคสมาธิสั้น และโรคซึมเศร้า เป็นต้น

รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH
รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช BMHH

...

นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขสถิติทั่วโลกตรงกันว่า 5% ของเด็กชั้นประถมเป็นโรค LD ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อย โดยจะพบแบบอาการรุนแรง 1-2% ส่วนที่เหลือ 3% เป็นแบบอาการไม่รุนแรง สามารถช่วยตัวเองได้

สาเหตุของการเกิดโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ เบื้องต้นน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการใช้ภาษา กรรมพันธุ์ที่มาจากพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องที่มีปัญหาเดียวกัน และอาจจะเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม

ทั้งนี้ BMHH โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มเด็กไทยเป็นโรค LD มากขึ้น จึงเปิดศูนย์ LD Center ขึ้น มีบริการตรวจคัดกรองโรค LD โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นที่มีความเชี่ยวชาญ กรณีที่มีปัญหาพฤติกรรม สามารถส่งพบนักจิตวิทยาที่มีประสบการณ์ รวมถึงครูการศึกษาพิเศษ ที่ช่วยเหลือเด็กได้ตรงจุด ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เน้นการรักษาโดยสหสาขาวิชาชีพ ที่ไม่ใช่เพียงแค่อาการดีขึ้นหรือหาย แต่ยังป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยวิธีการแบบองค์รวม

รศ.นพ.มนัท กล่าวต่อว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมีความเข้าใจเรื่อง LD มากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นโรคที่คนรู้จักค่อนข้างน้อย เชื่อว่าหากคนที่มีชื่อเสียงออกมาประกาศตัวต่อสังคม จะทำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็น LD กล้ายอมรับ นำมาสู่การวินิจฉัยและเข้ารับการรักษามากขึ้น ซึ่งอันดับแรกคือ พ่อแม่ต้องเปิดใจ เพราะลูกเป็นโรคต้องการความช่วยเหลือ ไม่ได้เกเรหรือขี้เกียจ การหลบเลี่ยงเป็นผลที่ปลายเหตุ โดยกระบวนการรักษาจะแนะนำทั้งผู้ปกครอง ลูก และโรงเรียน โดยรวมคือทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยเหลือเด็ก เพื่อให้ได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดและเหมาะสม” รศ.นพ.มนัท กล่าวสรุป

“สิ่งที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยคือ พบว่ามีเด็ก LD เข้าสู่ระบบการช่วยเหลือของโรงพยาบาลจำนวนน้อยมาก เนื่องจากผู้ปกครองบางคนต้องทำงาน ไม่มีเวลา หรือบางคนมองว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก ทั้งที่เด็กหลายคนมีความเป็นอัจฉริยะอยู่ในตัวเอง หากได้รับการพัฒนาที่ตรงจุดและเหมาะสม โดยการช่วยเหลือหากเริ่มตั้งแต่ยิ่งเล็กยิ่งดี ซึ่งส่วนใหญ่กว่าจะรู้ก็เมื่อเด็กเริ่มอ่านเขียน ประมาณอนุบาล 2 แต่ในช่วงอนุบาลจะยังวินิจฉัยยาก อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปกติ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อการวินิจฉันอย่างถูกต้อง แม้ว่าอาการโรคจะชัดเจนและวินิจฉัยได้แน่ชัดในชั้น ป.2 แต่ในเด็กที่มีอาการ แพทย์จะแนะนำให้เริ่มช่วยเหลือโดยทันที ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มีทั้งจุดดีและจุดด้อย ถ้าเราเข้าใจและช่วยเหลือในจุดด้อย พร้อมส่งเสริมจุดเด่น ก็จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จได้”

...

ภาพ : iStock