“โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อ monkeypox virus ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่เกิดในคน แต่ที่เรียกว่าฝีดาษลิง เนื่องจากพบในการทดลองที่เกิดขึ้นกับลิงนั่นเอง
“โรคฝีดาษลิง” เป็นโรคที่ไม่ได้มีความรุนแรง สามารถหายเองได้ แต่จะมีอาการรุนแรงได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเด็กเล็ก ส่วนมากจะพบในแอฟริกาใต้ แต่เมื่อไม่นานมานี้เองมีการพบมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย และเริ่มระบาดไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จำนวน 3 ราย (ณ วันที่นำเสนอบทความ) จึงจำเป็นต้องรับการรักษาเป็นผู้ป่วยในทุกราย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง มีดังนี้
1. เกิดจากการไปสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคฝีดาษลิง และสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น การมีเพศสัมพันธ์
2. การใช้อุปกรณ์ เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนร่วมกัน ก็อาจจะทำให้เกิดการติดได้
3. สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นแหล่งนำโรค เช่น หนูเล็กๆ ลิง กระรอก เป็นต้น
โดยที่ตัวโรคมีระยะฟักตัว 7-21 วัน

...
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมักมีอาการไข้นำมาก่อน ร่วมกับมีอาการอย่างน้อย 1 อย่างต่อไปนี้ คือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง โดยที่มีการกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว บริเวณอวัยวะเพศ หรืออาจพบบริเวณรอบทวารหนัก แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยตุ่มจะมีลักษณะนูน ใส หนอง และตกสะเก็ด โดยที่ผื่นในบริเวณเดียวกันจะเป็นระยะเดียวกัน จำนวนตุ่มที่พบจะมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรค และการตอบสนองของผู้ป่วย รวมระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็จะมีการสอบสวนโรคเพิ่มเติมว่าใน 21 วันที่ผ่านมา
- มีประวัติสัมผัสคนไข้หรือไม่
- มีการเดินทางมาจากประเทศที่มีเคสค่อนข้างเยอะหรือไม่
- มีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น ปาร์ตี้
- ผู้ป่วยทำอาชีพที่ต้องคลุกคลีกับต่างประเทศหรือไม่
- เป็นผู้ที่ต้องดูแลสัตว์ สัตวแพทย์ หรือคนค้าขายสัตว์ที่ต้องดูแลสัตว์พันทาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เป็นต้น
การติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อ
ส่วนใหญ่ติดต่อโดยการสัมผัสผื่นของผู้ป่วยโดยตรงในระยะแพร่เชื้อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยยืนยัน อาจมีการติดต่อกันทางละอองฝอยได้โดยเฉพาะ หากมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก (contact transmission & droplet transmission)

การวินิจฉัย มี 2 วิธี ดังนี้
โดยการทำ real time PCR เพื่อตรวจดูว่ามีสารพันธุกรรม money pox virus หรือไม่ หรือตรวจโดย DNA sequencing คือ การเพาะหาเชื้อ ซึ่งวิธีนี้จะค่อนข้างยากกว่าวิธีแรก
อันตรายและภาวะแทรกซ้อน
โรคฝีดาษลิงมี 2 ประเภท คือ รุนแรงมาก และรุนแรงน้อย ซึ่งเชื้อที่กำลังแพร่อยู่ในขณะนี้เป็นประเภทรุนแรงน้อย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น แอฟริกาก็อาจจะมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างในยุโรป ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ทั่วโลกตอนนี้มีประมาณ 10 ราย
การรักษา
ในประเทศไทยแนะนำให้รับผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลทุกราย และให้ดำเนินการรักษาในห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อ เนื่องจากองค์ความรู้เรื่องการรักษาและการป้องกันยังมีค่อนข้างจำกัด
การรักษามี 2 วิธี คือ การรักษาตามอาการ กล่าวคือ ให้ยาลดไข้ ลดความไม่สบายจากตุ่มหนอง และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
การรักษาวิธีที่ 2 คือ การให้ยาต้านไวรัส TPOFX ซึ่งเป็นการใช้ที่ยังไม่มาก และอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยยาตัวนี้มีทั้งรูปแบบกิน และการให้ทางหลอดเลือด ซึ่งสามารถรักษาโรคอื่นๆ ได้ด้วย เช่น small pork คือ รักษาโรคฝีดาษวัว และฝีดาษคนด้วย ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแทรกตัวของไวรัสเข้าไปในเซลล์

...
การใช้ยาจะต้องพิจารณาว่าเหมาะกับคนไข้กลุ่มไหนบ้าง เช่น คนไข้ HIV ที่ยังควบคุมอาการได้ไม่ดี คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ คนไข้โรคมะเร็งเม็ดเลือด คนไข้ปลูกถ่ายอวัยวะ คนไข้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก เด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เป็นต้น
การป้องกัน
ควรระวังการสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องคอยสังเกตอาการตัวเอง หากมีตุ่มหนองขึ้นผิดปกติ ร่วมกับอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน
@@@@@@
แหล่งข้อมูล
อ. พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล