พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์พระโมคคัลลาน์-สารีบุตร เนื้อผงพุทธคุณ พิมพ์หายาก สกุลวัดระฆัง

วัดระฆังโฆสิตาราม หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต เสนีย์วงศ์) ประวัติพระพุทธบาทปิลันทน์ พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง เป็นพระเนื้อผงใบลานเผาส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ

พระสมเด็จปิลันทน์ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องก็คือ "พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์" สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีย์วงศ์ พระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งเป็นพระของวัดระฆังฯ ที่มีการสร้างยาวนานอีกองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีย์วงศ์ เป็นเจ้าวังหลัง และทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีปริยัติธรรมกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงมาตั้งแต่ต้นจนได้เปรียญ 7 ประโยค และเป็นศิษย์ที่ทรงสมณศักดิ์สูงที่สุดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกด้วย

พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์พระโมคคัลลาน์-สารีบุตร เนื้อผงพุทธคุณ
พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์พระโมคคัลลาน์-สารีบุตร เนื้อผงพุทธคุณ

...

ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะแด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดให้ไปครองวัดเชตุพนฯ

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์ สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีย์วงศ์ ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆังฯ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จฯ เป็นต้นมา

และได้ทรงสร้างพระเครื่องฯ ของท่านขึ้นมาบ้างในปีพ.ศ. 2411 ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ มาแล้ว 2 ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว

หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องฯ ชนิดนี้คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์"

เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ผู้เป็นพระอาจารย์ พระปิลันทน์ มีหลายพิมพ์ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างหลวงทั้งสิ้น เพราะแต่ละพิมพ์ล้วนมีความงดงามวิจิตรอลังการ ยากที่ช่างฝีมือชาวบ้านธรรมดาจะทำได้ พิมพ์ที่ถือว่าสุดยอดของพระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู เนื้อพระจะออกไปในทางเทาอมดำ บางท่านก็ว่าเป็นเขียวอมดำและมีคราบไขขาวเกาะแน่นหนา ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณายิ่งขึ้น (พระปลอมไขขาวจะหลุดล่อนง่าย)

ในส่วนของพระที่บรรจุกรุ ได้มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อปี 2471 "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าทัต เสนีย์วงศ์" เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าแดง) ในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2364 ในสมัยรัชกาลที่ 2 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2385 จำพรรษา ณ วัดระฆังฯ ต่อมาปี พ.ศ. 2413 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งชราภาพแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) มรณภาพปี พ.ศ. 2443 การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2407 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์" ในช่วงปีดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังมีชีวิตอยู่ จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ โต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย

...

พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะ เป็นพระที่มีทั้งพิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่าง ๆ และพิมพ์ยืน จำแนกพิมพ์ พระปิลันทน์เป็นพระที่มีพิมพ์จำนวนมาก แต่จำแนกตามพิมพ์ที่นิยมกันได้ดังนี้
1. พระพิมพ์ซุ้มประตู
2. พระพิมพ์ครอบแก้วใหญ่
3. พระพิมพ์ครอบแก้วเล็ก
4. พระพิมพ์เปลวเพลิงใหญ่
5. พระพิมพ์เปลวเพลิงกลาง
6. พระพิมพ์เปลวเพลิงเล็ก
7. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่
8. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก
9. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ครอบแก้ว
10. พระพิมพ์ประทานพร หรือปฐมเทศนา
11. พระพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
12. พระพิมพ์เล็บมือจิ๋ว
13. พระพิมพ์ปิดตา
14. พระพิมพ์หยดแป้ง
15. พระพิมพ์สมเด็จจิ๋ว

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทางเมตตามหานิยม และโภคทรัพย์ดีนักแล

#ป๋องสุพรรณการันตี