ยางพารา...ค่าแห่งความเป็น พืชเศรษฐกิจเพียงแค่น้ำยาง เท่านั้น หลังจากต้นของมันอายุล่วงเข้า 25 ถึง 30 ปี เกษตรกรก็จะโค่นเอาต้นมันนำเข้าสู่ภาค อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา...ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยม
กระบวนการผลิตตามขั้นตอน...จะเริ่มตั้งแต่เลื่อยตัดต้นไม้เป็นซุง แล้วนำเข้าสู่การอัดน้ำยา และ อบเนื้อไม้ เพื่อให้ไม้แปรรูปยางพารามีศักยภาพในความคงทน ซึ่งองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในระบบการผลิตนั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของบุคลากรเป็นหลัก...จึงส่งผลให้คุณภาพของไม้แปรรูปยางพาราไม่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
ข่าวแนะนำ
ผศ.ดร.นิรันดร มาแทน อาจารย์ประจำหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฯ กับทีมงาน จึงทำการวิจัยและพัฒนาระบบสำหรับการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพไม้ยางพาราแปรรูปให้มีคุณภาพในความเป็นเลิศ ทีมวิจัยจึงได้วางแนวในการดำเนินการตามโปรแกรมเป็นขั้นเป็นตอนดังนี้...
SawWooD...เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาช่วยให้บุคลากรในโรงงานยางพาราแปรรูปสามารถออกแบบรูปการในการเลื่อยไม้ซุงอย่างเหมาะสมก่อนปฏิบัติงานหรือเลื่อยจริง อันเป็นบทวิเคราะห์
แม่แบบเชิงเศรษฐกิจที่จะให้ปริมาณการสูญเสียในรูปของปีกไม้และขี้เลื่อยน้อยที่สุด
ImPregWooD...เป็นระบบวัดและ ควบคุมความเข้มข้นของน้ำยาโบรอนที่จะทำการอัดเข้าเนื้อไม้เพื่อป้องกันมอด ได้อย่างทั่วถึงและแม่นยำ อันประกอบด้วยเครื่องวัดความถ่วงจำเพาะความละเอียดสูง (สร้างขึ้นโดยทีมงานวิจัยฯ) ชุดหลอดแก้วสำหรับถ่ายเทน้ำยา ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการคำนวณการดำเนินการ...ฯลฯ
และ...DryWooD เป็นระบบที่ พัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมสภาวะปฏิบัติการในเตาอบ อย่างมีประสิทธิภาพ (...กระบวนการอบจะใช้เวลาและพลังงานมากที่สุดในการผลิตไม้ยางพารา ขั้นตอนนี้หากไม่สามารถควบคุมสภาวะในความเหมาะสม จะทำให้เกิดความเสียหายได้ เช่น บิด งอ โก่ง แตก ฯลฯ...ได้)
...ระบบที่พัฒนานี้สามารถควบคุมการอบไม้อัตโนมัติผ่านทางไมโครคอนโทรลเลอร์และคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อด้วยระบบไร้สายและสามารถควบคุมเตาอบได้พร้อมๆกันถึง 20 เตา (แต่ละเตาสามารถตั้งโปรแกรมควบคุมที่แตกต่างกันได้)...
ผลงานวิจัยและพัฒนาชิ้นนี้นำไปปฏิบัติจริงได้ หากเกษตรกรหรือภาคอุตสาหกรรมสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โทร.0-2579-0431...เวลาราชการ.
ดอกสะแบง