
อภิมหาการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่
โมเสสพาชาวยิวเดินข้ามทะเล
มนุษย์เรามีศักยภาพอันแสนมหัศจรรย์อยู่ในตัวครับ สามารถสร้างสิ่งที่ เหลือเชื่อไว้ให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ เห็น ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นกิจกรรมเริ่มแรกของมนุษย์เราก็คือ “การเดินทาง” ครับ
เริ่มตั้งแต่มีมนุษย์คนแรกเกิดขึ้นมาแล้ว จากนั้นมนุษย์ท่านนี้ก็ต้องระเห็จลงมาจากสวรรค์ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นการเดินทางครั้งแรกๆ ของมนุษย์ในพระคัมภีร์ที่เก่าแก่ฉบับหนึ่งของโลกการเดินทางให้คำตอบกับคนเรามากอย่างบางทีก็นึกไม่ถึงครับ
การเดินทางออกจากทวีปแอฟริกา เริ่มเมื่อราว 60,000 ปีก่อนครับเป็นครั้งแรกของมนุษยชาติที่บรรพบุรุษของเราครั้งดึกดำบรรพ์ตัดสินใจพากันเดินออกจากกาฬทวีปที่มีแต่ป่าดงพงทึบออกไปสู่ทวีปอื่นที่เป็นแดนไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งการเดินทางออกจากทวีปแม่เป็นครั้งแรกอย่าง กล้าหาญนี้ ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่ สำคัญขึ้นในโลกของเราครับ นั่นคือการเกิดทวีปอื่นๆ ที่มีมนุษย์ขึ้น ได้แก่ ยุโรป, เอเชีย กลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วเรื่อยไป จนถึงออสเตรเลีย และ ทวีปอเมริกาครับ ด้วยการเดินทางอันยิ่ง ใหญ่ที่เรียกง่ายๆ ว่า “Out of Africa”
การอพยพของชาวยิวและโมเสส โมเสสหรือโมเซเป็นประกาศกองค์สำคัญของชาวยิว (อิสราเอล) เป็นผู้นำในการอพยพครั้งสำคัญนี้ ซึ่งมูลเหตุมาจากการที่ชาวยิวสมัยนั้นตกเป็นทาสของฟาโรห์อียิปต์อยู่ แล้วชาวยิวก็ถูกกดขี่สารพัดตามวิสัยคนที่ตกเป็นทาส พระเจ้าจึงทรงบัญชาให้โมเสสลุกขึ้นนำชาวยิวทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปลดแอกตัวเองจากอียิปต์แล้วพาออกไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญานั่นก็คือ “คานาอัน” ซึ่งการอพยพใหญ่ครั้งนี้มีชื่อเรียกที่แสนโด่งดังว่า “เอ็กโซดัส (Exodus)” ครับ
การอพยพของชาวมิลักขะไปยังเกาะศรีลังกา การอพยพนี้เป็นต้นเหตุของมหากาพย์ที่คนทั่วโลกรู้จักดีคือ “รามายณะ” หรือที่บ้านเราเรียกว่า “รามเกียรติ์” นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการอพยพใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 950 ปีก่อนพุทธกาล โดยชนชาติอารยันซึ่งเป็นผู้รุกรานได้ทำการสู้รบกับชาวพื้นเมืองที่ผิวคล้ำรูปร่างเล็กกว่าคือชาวฑราวิต (Dravidian) จนขับไล่ชาวพื้นเมืองตกทะเลต้องลอยคอไปตั้งเมืองใหม่อยู่ที่เกาะนอก (กรุงลงกา) อนุทวีปอินเดีย ในปัจจุบันก็คือประเทศศรีลังกาครับ
ล่มสลายลงด้วยสงครามอันเกิดจากสตรีนางเดียว จะเรียกเป็นศึกชิงนางก็ได้ แล้วจากนั้นเมื่อทรอยล่มแล้ว ชาวทรอยก็พากันหอบลูกจูงหลานอพยพทิ้งทรอยไปซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “อีนิอัส (Aeneus)” ซึ่งไป อยู่ในเมืองใหม่ที่ปัจจุบันเรารู้จักกันในฐานะเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งของโลกที่มีชื่อว่า “โรม” ครับ
ไกรลาสยาตรา หรือการเดินทางจาริกแสวงบุญไปยังเทือกเขาหิมาลัยที่ศาสนาฮินดูเชื่อว่าคือเขาไกรลาสอันเป็นที่สถิตอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระศิวะผู้เป็นเจ้า ผู้ที่มีความศรัทธาแรงกล้าจะต้องพากันเดินเท้าไปเพื่อสักการะ ณ ยอดเขาหิมาลัยในจุดที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งการเดินทางนี้เปรียบได้กับการธุดงค์ โดยเส้นทางนั้นเมื่อพ้นเขตอินเดียก็ต้องลุยไปตามหิมะโดยตลอดแล้วผ่านช่องเขากาฬบรรพตซึ่งเป็นหินสีดำทมึนน่ากลัวมีแต่เมฆหมอกปกคลุม เมื่อผ่านไปแล้วจะพบกับทะเลสาบมานัสโรวาแล้วเบื้องหน้าก็คือไกรลาสที่ขาวสล้าง นักเดินทางจะทำการเดินเวียนรอบเขานี้ 108 รอบจึงถือว่าจะได้ไปอุบัติในนิรวนา (Nirvana) บนสวรรค์
การอพยพของชาวเวนิส การอพยพครั้งนี้สำคัญ ถือเป็นกำเนิดแห่งนครเวนิสอันลือนาม โดยต้นเหตุของการอพยพนี้ค่อนข้างน่าตื่นเต้นครับ เพราะเป็นการ “หนีตาย” จากทัพของอัตติลาผู้รุกรานชาวฮั่นที่เข้ามาสังหารโหดฝรั่งถึงทวีปยุโรป โดยอัตติลาได้ตีเมืองสำคัญของโรมได้หลายเมืองอย่างราเวนน่า และเวนิส ก็เป็นหนึ่งในนั้น ทำให้ชาวเมืองหนีกระจัดกระจายกันไปอยู่ตามเกาะเล็กเกาะน้อยใกล้ชายฝั่งครับ และนั่นก็คือต้นกำเนิดของมหานครเวนิสในเวลาต่อมา
การเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ถัดจากที่เลียฟเดินทางไปจนพบชายฝั่งนิวฟาวน์แลนด์ของอเมริกาเข้า นักเดินทางชาวเยนัวนามโคลัมบัสก็จัดกองเรืออันประกอบด้วยเรือชื่อ นิน่า, ปินตาและซานตามาเรีย โดยได้สปอนเซอร์จากพระเจ้ากรุงสเปน ล่องเรือจากเมืองท่าพาโลสในสเปน ฝ่าฟันอุปสรรคแสนสาหัสจนได้พบทวีปอเมริกาในปี 1492 แต่ทว่าเป็นการค้นพบที่เข้าใจผิดถนัดเพราะโคลัมบัสคิดว่าทวีปที่เขาเหยียบคือ “เอเชีย” ครับ
แม่ ซึ่งเมืองที่เจิ้งเหอเคยเดินทางไปถึง ได้แก่ แอฟริกาตะวันออก, ประเทศอิหร่าน, เกาะ สุมาตรา, กัมพูชา และเมืองหนึ่งที่เจิ้งเหอเคย มาในสมัยนั้นก็คือ “อยุธยา” ของเรานี่เองครับ
การเดินเท้าระยะไกลของเหมาเจ๋อตุง ท่านผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีนใหม่ได้จารึกมหากาพย์ความยิ่งใหญ่ของตัวเองด้วยการเดินทางที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งการเดินทางครั้งนี้เริ่มในปี 1934 ไปสิ้นสุดในปี 1936 ครับ เป็นการเดินทางที่จะตัดสินชะตาของกองทัพแดงที่นำโดยเหมาเจ๋อตุงและโจวเอิน ไหล เพราะขณะนั้นมีความขัดแย้งกับรัฐบาล ของเจียงไคเช็ก โดยการเดินทัพของเหมานั้นเริ่มจากมณฑลเจียงซีแล้วจึงย้อนไปทางเหนือเป็นระยะทางถึง 12,500 กิโลเมตร ซึ่งกว่าจะไปถึงมณฑลส่านซีนั้นมีผู้รอดชีวิตเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น แต่ผลที่ได้นั้นทำให้เหมาได้รับชัยชนะและสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สำเร็จครับ
ภาษิตของจีนกล่าวไว้ทำนองว่า อ่านหนังสือหมื่นเล่มยังไม่สู้เดินทางพันลี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์มีการเดินทางบางครั้งที่กลับกลายเป็นโศกนาฏกรรม น่าเศร้าครับ อย่างการเดินทางออกสำรวจขั้วโลกเหนือ (Arctic Exploration) ของคณะนักสำรวจชาวอังกฤษนำโดยเซอร์จอห์น แฟรงคลิน ที่จบลงด้วยหายนะคือความตายจนกลายเป็นมัมมี่น้ำแข็งอยู่ขั้วโลก หรือการเดินทางสู่จุดสูงสุดของโลกบนยอดเขาสาคารมาตาหรือที่รู้จักกันดีว่าเอเวอร์เรสก็คร่าชีวิตนักผจญภัยไปหลายต่อหลายท่าน โดยร่างของนักไต่เขาบางท่านก็ยังอยู่ข้างบนนั้น
แต่กระนั้นก็หาได้ทำให้วิญญาณนักสู้ภายในใจของนักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่มอดดับลงไปไม่ ตรงกันข้ามกลับยิ่งทำให้ได้รู้ถึงความมานะบากบั่นของบรรพบุรุษท่านแล้วท่านเล่าที่สู้ไม่ถอยในการเดินทาง
ที่สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ให้กับ โลกใบนี้.
โดย : นพ.กฤษดา ศิรามพุช
ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน