ปลาใบมีดโกน หรือปลาข้างใส (razorfish) มีลักษณะเด่นที่ รูปร่างบางเฉียบ ปากเรียวแหลม และ เกล็ดพัฒนาเหมือนเกราะบางใส หุ้มตัว ว่ายน้ำหัวทิ่มลงลำตัวตั้งฉากกับพื้นตลอดเวลา หางแหลมเหมือนมีกระดูกเล็กๆชี้ขึ้นข้างบนคล้ายๆ หางใบมีดโกนที่ช่างตัดผมสมัยโบราณ ใช้นิ้วเกี่ยวไว้เวลาใช้งาน...

ปัจจุบัน...ปลาใบมีดโกนกลายเป็น สัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ ที่ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนำมาจำหน่ายในตลาด ทำให้ กรมประมง โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย...


นางสาววารินทร์ ธนา-สมหวัง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง บอกว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาใบมีดโกนให้ เป็นพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียน...ด้วยวิธีการ ผลิตลูกปลาในโรงเพาะฟัก  และการ เลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งช่วยทำให้สามารถ เพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ ที่สำคัญไม่ทำลายระบบนิเวศของท้องทะเล

“...ขั้นตอนการวิจัยเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ นั้น...ทีมนักวิจัยของศูนย์ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียน ประกอบด้วย ถังไฟเบอร์ทรงกลม ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ถังกรองชีวภาพ และ โปรตีนสกิมเมอร์ ให้อาหารวันละครั้งด้วย...เคยฝูง (Lucifer) เสริมด้วย อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยมีชีวิต ความเค็มน้ำ 30 ส่วนในพัน...โดยปลาวัยเจริญพันธุ์จะมีขนาดเฉลี่ย 11.68+0.556 เซนติเมตร มักวางไข่เป็นฝูงช่วงเวลา 18.00–22.00 น.ของทุกวัน...” น.ส.วารินทร์กล่าวและว่า

...


...ในการรวบรวมไข่ปลาใบมีดโกนนั้นจะ ใช้กระชังผ้าโอล่อนแก้วกรองน้ำที่ทางน้ำล้น แยกไข่ปลาออกแล้วนำมาฟักในตู้กระจก ไข่มีลักษณะกลมใส ครึ่งจมครึ่งลอย ใช้ระยะเวลาในการ ฟักออกเป็นตัว 1 วัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 460±87.43 ฟอง อัตราการฟักของไข่ที่ได้รับการผสมอยู่ระหว่าง 89.134±1.873 เปอร์เซ็นต์ ลูกปลาแรก ฟักมีขนาด 2.507±0.031 มิลลิเมตร...


ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง บอกอีกว่า การอนุบาลลูกปลาให้อาหารวันละครั้งด้วย แพลงก์- ตอนพืช โรติเฟอร์ โคพีพอด และ อาร์ทีเมียแรกฟัก ที่ความเค็มน้ำ 28+2 ส่วนในพัน และมีการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีค่าอัลคาไลน์อยู่ระหว่าง 130-150 มิลลิกรัมต่อลิตร ลูกปลาเริ่มกินโคพีพอดได้เมื่ออายุ 1 วันกินอาร์ทีเมียแรกฟักร่วมกับโคพีพอด ได้เมื่ออายุ 10 วัน เริ่มมีพฤติกรรมรวมฝูงพัฒนา รูปร่างตัวเต็มวัยในเวลา 25 วัน...


กรมประมง...เตรียมเผยแพร่ความรู้ในการเพาะพันธุ์ปลาใบมีดโกนให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพ กริ๊งกร๊างหาข้อมูลเพิ่ม เติมที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง ชายฝั่งสมุทรสาคร โทร.0-3485-7136 หรือ 0-3442-6220 ในเวลาราชการ.

ไชยรัตน์  ส้มฉุน